แนะนำการชำระภาษี |
ข่าวประชาสัมพันธ์ จาก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแอ่น ขั้นตอนและวิธีการยื่นแบบและชำระภาษีประเภทต่างๆ ประจำปี 2562 ของฝ่ายจัดเก็บรายได้ ส่วนการคลัง ................................
1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างกับส่วนต่อเนื่องที่ใช้ร่วมกับโรงเรือน หรือสิงปลูกสร้างนั้น และนำไปใช้ประโยชน์ในการเช่า ทำการค้า ประกอบอุตสาหกรรม ให้ญาติพ่อแม่หรือผู้อื่นอยู่อาศัย
C ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี ได้แก่ เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจ
C ขั้นตอนการชำระภาษี ó เจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สิน ( แบบ ภ.ร.ด. 2 ) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี ó ผู้ใดไม่ยื่นแบบแสดงรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่กำหนด มีความผิดมาตรา 46 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี ó ผู้ใดไม่ยื่นแบบแสดงรายการหรือไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงไม่สมบูรณ์ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือทั้งจำทั้งปรับและเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี
C การชำระภาษี ó ภายใน 30 วัน นับแต่รับทราบผลการประเมิน หากชำระภาษีเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ตามอัตราดังต่อไปนี้
ภายใน 1 เดือน เพิ่ม 2.5 % ของค่าภาษี ภายใน 2 เดือน เพิ่ม 5 % ของค่าภาษี ภายใน 3 เดือน เพิ่ม 7.5 % ของค่าภาษี เกินกว่า 3 เดือน เพิ่ม 10 % ของค่าภาษี
C การอุทธรณ์ภาษี หากผู้รับประเมินไม่พอใจผลการประเมินให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน
2. ภาษีบำรุงท้องที่
หมายถึง ภาษีที่เรียกเก็บจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่ใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อการอยู่อาศัยและไม่เข้าข่ายยกเว้นตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ 2508
C ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่
ó ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม ของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปีนั้น
C การประเมินภาษี ó จะประเมินเรียกเก็บภาษีจากราคาปานกลางของที่ดิน ó ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่าของอัตราปกติ
C ระยะเวลาการยื่นชำระภาษี ó ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน - 30 ธันวาคม 2561 มาแจ้งยื่นแบบในการชำระภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี 2562 ó ชำระภาษี ภายในเดือนมกราคม – เมษายนของทุกปี (หากชำระเกินเดือนเมษายนของปี จะต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตรา ร้อยละ 2 % ต่อเดือน ของค่าภาษี) ó การยื่นแบบชำระภาษีจะยื่น 4 ปีต่อครั้ง หมายเหตุ กรุณานำเอกสารสิทธิ์ สำเนาโฉนดเท่าฉบับจริง และสำเนาบัตรประชาชน มาด้วยในการยื่นแบบชำระภาษีบำรุงท้องที่
C การลดหย่อนและยกเว้น ó ที่ดินแปลงที่เจ้าของปลูกบ้านอยู่อาศัยโดยไม่ทำการค้าหรือให้เช่าแต่อย่างใด ลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 ไร่ ส่วนที่เกินต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด
อัตราโทษและค่าปรับ ó ไม่ยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนดเสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี ó ยื่นแบบรายการไม่ถูกต้องค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมิน เพิ่มเติม ó ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียภาษีเพิ่มอีก 1 เท่า ของภาษีที่ประเมินเพิ่ม
3. ภาษีป้าย
C หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณา ที่วัตถุใดๆด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ô เจ้าของป้าย ô ในกรณีที่ไม่มีผู้อื่นยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ
กำหนดระยะเวลายื่นแบบ ô ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี สำหรับป้ายใหม่ให้ยื่นแบบและชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่ติดตั้งป้ายนั้นๆ การยื่นแบบเกินกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี
ประเภทป้าย ป้ายมี 3 ประเภท ô ประเภทที่ 1 ป้ายที่มีข้อความภาษาไทยล้วน อัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. ô ประเภทที่ 2 ป้ายที่มีข้อความภาษาไทยปนเครื่องหมายหรือภาษาต่างประเทศ อัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. ô ประเภทที่ 3 ก. หมายถึงป้ายที่มีข้อความภาษาต่างประเทศหรือเครื่องหมาย ô ประเภทที่ 3 ข. หมายถึงป้ายที่มีข้อความภาษาไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าภาษต่างประเทศ ป้ายประเภท 3 ก. , 3 ข. อัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตร. ซม. ป้ายใดคำนวณได้ต่ำกว่า 200 บาท ให้คิด 200 บาท
การอุทธรณ์ ô ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้รับแจ้งการประเมินแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้อง ให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
ภาษี 1 ป้าย หมายถึง ป้ายที่มีข้อความ 1 ด้าน หากไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายมีโทษ ปรับ 5,000 – 50,000 บาท |